สมเด็จพระราชินีเกซัง โชเดน
เกซัง โชเดน วังชุก | |
---|---|
พระอัยยิกาเจ้า | |
สมเด็จพระราชินีแห่งภูฏาน | |
ดำรงพระยศ | 30 มีนาคม 2495 – 21 กรกฎาคม 2515 |
พระราชสมภพ | 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2473 กาลิมปง ประเทศอินเดีย |
พระราชสวามี | สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี ดอร์จี |
พระราชบุตร | เจ้าหญิงโซนัม โชเดน เจ้าหญิงเดเชน วังโม สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี ซิงเย เจ้าหญิงเพมา ลาเดน เจ้าหญิงเกซัง วังโม |
ราชวงศ์ | วังชุก |
พระราชบิดา | โซนัม ต็อบกเย ดอร์จี |
พระราชมารดา | มายึม โชยิง วังโม ดอร์จี |
ศาสนา | พุทธนิกายวัชรยาน |
พระราชวงศ์ภูฏาน |
---|
|
สมเด็จพระอัยยิกาเกซัง โชเดน[1] (พระราชสมภพ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2473) เป็นสมเด็จพระอัยยิกาในสมเด็จพระราชาธิบดีชิกเม เคซาร์ นัมกเยล วังชุก[2] และเป็นพระมารดาในสมเด็จพระราชาธิบดีชิกเม เซ็งเค วังชุก และเป็นพระอัครมเหสีในสมเด็จพระราชาธิบดีชิกเม โตเจ วังชุก และเป็นเจ้านายฝ่ายในที่ดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระอัยยิกาเจ้าเพียงพระองค์เดียวของโลกยุคปัจจุบัน[3]
พระราชประวัติ
[แก้]สมเด็จพระอัยยิกาเกซัง โชเดน เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2473 เป็นธิดาของโซนัม ต็อบกเย ดอร์จี กับมายึม โชยิง วังโม ดอร์จี พระราชชนกเป็นนายกรัฐมนตรีภูฏาน และมาจากตระกูลดอร์จีซึ่งเป็นตระกูลใหญ่ของภูฏาน ส่วนพระราชชนนีเป็นพระธิดาของมหาราชาแห่งรัฐสิกขิม มีพระพี่น้องเป็นชายสามคนและเป็นหญิงอีกหนึ่งคน ทรงสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนักบุญยอแซฟคอนแวนต์ที่กาลิมปง ประเทศอินเดีย
พระองค์อภิเษกสมรสกับสมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี ดอร์จี ซึ่งขณะนั้นดำรงพระอิสริยยศเป็นมกุฎราชกุมารแห่งภูฏาน ณ พระราชวังอุกเยนเพลรีในเมืองพาโร เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2494 หลังกษัตริย์พระองค์ก่อนเสด็จสวรรคต พระสวามีขึ้นเสวยราชสมบัติ พระองค์ก็ขึ้นเป็นสมเด็จพระราชินีแห่งภูฏาน หลังจากนั้นไม่ช้านานก็ให้ประสูติการพระราชธิดา โดยมีสมเด็จพระราชินีพุนโซ โชเดน พระราชินีในรัชกาลก่อน คนรับใช้ และแพทย์ชาวภูฏานคอยถวายการพยาบาลพระราชธิดานี้[4]
พระราชกรณียกิจ
[แก้]สมเด็จพระอัยยิกาเกซัง โชเดนขึ้นเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ใน พ.ศ. 2515 เมื่อคราวพระราชสวามีทรงพระประชวร ทรงสนพระทัยในบวรพุทธศาสนามาก ด้วยทรงอุปถัมภ์กิจกรรมสวนมนต์ประจำปี พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ถวายแก่นักพรต 200 รูป และอารามต่าง ๆ ทั้งในภูฏาน และในกาลิมปง ประเทศอินเดีย นอกจากนี้ทรงสนพระทัยการอนุรักษ์ศิลปะและมรดกทางวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของประเทศภูฏาน โดยทรงสนับสนุนทุนการศึกษาและการวิจัยในประเทศ[2]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ (2553). จดหมายเหตุงานพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (PDF). กรุงเทพฯ: สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. p. 209.[ลิงก์เสีย]
- ↑ 2.0 2.1 "Octogenarian grandmother of king to visit different holy places in state". สืบค้นเมื่อ 14 September 2014.
- ↑ "Yeewongmagazine". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-26. สืบค้นเมื่อ 2020-08-01.
- ↑ "Her Majesty Ashi Phuntsho Choden Wangchuck: Patron Queen of Bhutan: A Legacy of Devotion and Leadership". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 September 2014. สืบค้นเมื่อ 14 September 2014.