ข้ามไปเนื้อหา

ภาษาจามตะวันตก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษาจามตะวันตก
ประเทศที่มีการพูดกัมพูชา เวียดนาม ไทย
ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ชาติพันธุ์ชาวจาม
จำนวนผู้พูด253,100 คน  (ไม่พบวันที่)
ตระกูลภาษา
รูปแบบก่อนหน้า
ระบบการเขียนอักษรจาม, อักษรอาหรับ, อักษรเขมร
สถานภาพทางการ
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองใน กัมพูชา
รหัสภาษา
ISO 639-3cja

ภาษาจามตะวันตก, ภาษาจามกัมพูชา ภาษาจามใหม่ มีผู้พูดทั้งหมด 253,100 คน พบในกัมพูชา 220,000 คน (พ.ศ. 2535) ในเมืองใกล้กับแม่น้ำโขง พบในไทย 4,000 คน ในกรุงเทพมหานคร และอาจมีตามค่ายผู้อพยพ ส่วนใหญ่เปลี่ยนมาพูดภาษาไทย สำเนียงที่ใช้พูดในไทยได้รับอิทธิพลจากตระกูลภาษาออสโตร-เอเชียติกมาก พบในเวียดนาม 25,000 คน โดยอยู่ในไซ่ง่อน 4,000 คน มีผู้พูดภาษานี้ในออสเตรเลีย ฝรั่งเศส อินโดนีเซีย ลิเบีย มาเลเซีย ซาอุดีอาระเบีย สหรัฐ และเยเมน ภาษานี้มีความแตกต่างจากภาษาจามตะวันออกที่ใช้พูดทางภาคกลางของเวียดนาม จัดอยู่ในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน ภาษากลุ่มมาลาโย-โพลีเนเซีย สาขามาเลย์อิก สาขาย่อยอาเจะฮ์-จาม เขียนด้วยอักษรจามและอักษรโรมัน ผู้พูดภาษานี้นับถือศาสนาอิสลามนิกายซุนนี

อ้างอิง

[แก้]