10 ธันวาคม
หน้าตา
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
วันที่ 10 ธันวาคม เป็นวันที่ 344 ของปี (วันที่ 345 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบกริกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 21 วันในปีนั้น
เหตุการณ์
[แก้]- พ.ศ. 2051 (ค.ศ. 1508) - สันนิบาตคองบรายก่อตั้งโดยสมเด็จพระสันตะปาปาจูเลียสที่ 12 พระเจ้าหลุยส์ที่ 12 แห่งฝรั่งเศส จักรพรรดิแม็กซิมิเลียนที่ 1 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ และพระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 2 แห่งอารากอนในฐานะพันธมิตรต่อต้านสาธารณรัฐเวนิส
- พ.ศ. 2084 (ค.ศ. 1541) - โทมัส คัลเปเปอร์ และ ฟรานซิส เดอร์แรม ถูกประหารชีวิตเนื่องจากมีความสัมพันธ์กับ แคเทอริน เฮาเวิร์ด ราชินีแห่งอังกฤษและพระราชินีของ พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ
- พ.ศ. 2311 (ค.ศ. 1768) - สารานุกรมบริแทนนิกาตีพิมพ์เล่มแรก
- พ.ศ. 2342 (ค.ศ. 1799) - ฝรั่งเศสใช้เมตรเป็นหน่วยวัดความยาวอย่างเป็นทางการ
- พ.ศ. 2360 (ค.ศ. 1817) - มิสซิสซิปปีกลายเป็นรัฐที่ 20 ของสหรัฐ
- พ.ศ. 2394 (ค.ศ. 1851) - จัดทัพไปรบเชียงตุง มีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท ทรงเป็นแม่ทัพ เพื่อไปช่วยเมืองเชียงรุ่ง
- พ.ศ. 2404 (ค.ศ. 1861) สงครามกลางเมืองอเมริกา: สมาพันธรัฐอเมริกายอมรับคำประกาศของรัฐบาลที่เป็นคู่แข่งคือ สหรัฐ ซึ่งได้ประกาศให้เคนตักกีเป็นรัฐที่ 13 ของสมาพันธรัฐ
- พ.ศ. 2433 (ค.ศ. 1890) - ตึกนิวยอร์กเวิลด์เปิดเป็นครั้งแรกและเป็นตึกที่สูงที่สุดในโลกไปจนถึงพ.ศ. 2437และถูกรื้อถอนในค.ศ. 1955
- พ.ศ. 2441 (ค.ศ. 1898) - สเปนลงนามสนธิสัญญาปารีส ยกประเทศฟิลิปปินส์ให้สหรัฐ[1]
- พ.ศ. 2444 (ค.ศ. 1901) - พิธีมอบรางวัลโนเบลจัดขึ้นเป็นครั้งแรก เนื่องในวันครบรอบการถึงแก่กรรมของอัลเฟร็ด โนเบล นักเคมีและนักอุตสาหกรรมผู้ก่อตั้งรางวัล
- พ.ศ. 2445 (ค.ศ. 1902) - การเปิดเขื่อนระดับต่ำอัสวานในอียิปต์
- พ.ศ. 2449 (ค.ศ. 1906) - ประธานาธิบดีธีโอดอร์ รูสเวลต์ของสหรัฐได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพสำหรับบทบาทของเขาในการไกล่เกลี่ยความขัดแย้งในสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น กลายเป็นชาวอเมริกันคนแรกที่ได้รับรางวัลโนเบล[2]
- พ.ศ. 2450 (ค.ศ. 1907) - ค่ำคืนที่เลวร้ายที่สุดของการจลาจลสุนัขสีน้ำตาลในลอนดอน เมื่อนักศึกษาแพทย์ 1,000 คน ประท้วงการมีอยู่ของรูปปั้นสุนัขที่ถูกผ่าศพ ปะทะกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ 400 นาย[3]
- พ.ศ. 2452 (ค.ศ. 1909) - เซลมา ลอเกร์เลิฟ นักเขียนหญิงชาวสวีเดน กลายเป็นนักเขียนหญิงคนแรกที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม[4]
- พ.ศ. 2475 (ค.ศ. 1932) - การปฏิวัติสยาม: พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวลงนามในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 แก่คณะราษฎร (ฉบับชั่วคราวประกาศใช้เมื่อ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475) พระยามโนปกรณนิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) กลับมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไทยตามรัฐธรรมนูญ
- พ.ศ. 2479 (ค.ศ. 1936) วิกฤตการณ์สละราชบัลลังก์: พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 8 แห่งสหราชอาณาจักร ลงพระนามในการสละราชบัลลังก์เพื่อเสกสมรสกับนางวอลลิส ซิมป์สัน
- พ.ศ. 2482 (ค.ศ. 1939) - รัฐบาลไทยประกาศใช้ เพลงชาติไทย ฉบับปัจจุบัน
- พ.ศ. 2484 (ค.ศ. 1941) - สงครามโลกครั้งที่สอง: กองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกที่ฟิลิปปินส์
- พ.ศ. 2485 (ค.ศ. 1942) - ธนาคารแห่งประเทศไทย เปิดดำเนินการในฐานะธนาคารกลางแห่งประเทศไทย
- พ.ศ. 2491 (ค.ศ. 1948) - สมัชชาใหญ่สหประชาชาติประกาศรับรองปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
- พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1949) สงครามกลางเมืองจีน: กองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน เริ่มล้อมเมืองเฉิงตู เมืองสุดท้ายที่ก๊กมินตั๋งยึดครองในจีนแผ่นดินใหญ่ บีบให้ประธานาธิบดีเจียง ไคเช็ค ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐจีน และรัฐบาลของเขาต้องล่าถอยไปยังไต้หวัน
- พ.ศ. 2496 (ค.ศ. 1953) - เซอร์ วินสตัน เชอร์ชิลล์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม
- พ.ศ. 2511 (ค.ศ. 1968) - การปล้นครั้งใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่นคือ "การปล้น 300 ล้านเยน" ที่ยังไม่คลี่คลายในโตเกียว
- พ.ศ. 2527 (ค.ศ. 1984) - สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติประกาศรับรองอนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการทรมาน
- พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) การปฏิวัติมองโกเลีย: ในการเดินขบวนเรียกร้องประชาธิปไตยครั้งแรกของประเทศ ซาคีอากีง เอลเปกตอร์ช ประกาศจัดตั้งสหภาพประชาธิปไตยมองโกเลีย
- พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996) - รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของแอฟริกาใต้ประกาศใช้โดยเนลสัน แมนเดลา
- พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999) - เฮเลน คลาร์ก สาบานตนรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของนิวซีแลนด์ โดยเป็นผู้หญิงคนที่สองที่ได้ดำรงตำแหน่งต่อจาก เจนนี ชิปลีย์ และเป็นคนแรกที่มาจากการเลือกตั้ง[5][6]
- พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) - สหประชาชาติกำหนดให้วันที่ 21 มิถุนายนของทุกปีเป็นวันสากลแห่งสหประชาชาติในการช่วยเหลือเหยื่อการกระทำทารุณ
วันเกิด
[แก้]- พ.ศ. 2394 (ค.ศ. 1851) - เมลวิล ดิวอี้ บรรณารักษ์ (ถึงแก่กรรม 26 ธันวาคม พ.ศ. 2474)
- พ.ศ. 2429 (ค.ศ. 1886) - วิกเตอร์ แม็กลาเกล็น นักแสดงชาวอังกฤษ (ถึงแก่อสัญกรรม 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2502)
- พ.ศ. 2498 (ค.ศ. 1955) - น้อย โพธิ์งาม นักแสดงและนักแสดงตลกหญิงชาวไทย
- พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) - ไมเคิล คลาร์ก ดันแคน นักแสดงชาวอเมริกัน (ถึงแก่กรรม 3 กันยายน พ.ศ. 2555)
- พ.ศ. 2501 (ค.ศ. 1958) - ฝั่ม มิญ จิ๊ญ นายกรัฐมนตรีเวียดนาม
- พ.ศ. 2510 (ค.ศ. 1967) -
- นะริมิ อะริโมะริ นักแสดงชาวญี่ปุ่น
- พ.ศ. 2513 (ค.ศ. 1970) - การ์โลส มูรีโย แชมป์โลกมวยสากลชาวปานามา
- พ.ศ. 2515 (ค.ศ. 1972) - โดนาวอน แฟรงเคนไรเทอร์ นักร้องชาวอเมริกัน
- พ.ศ. 2516 (ค.ศ. 1973) - อรรถพร ธีมากร นักแสดง นักร้อง นักดนตรี พิธีกร และผู้กำกับละครชาวไทย
- พ.ศ. 2519 (ค.ศ. 1976) - ธนา สุทธิกมล นักร้องและนักแสดงชาวไทย
- พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) - อิลดาฟ็อนส์ ลิมา นักฟุตบอลชาวอันดอร์รา-สเปน-กาตาลา
- พ.ศ. 2528 (ค.ศ. 1985) -
- จอร์จิโอ เปโตรเซียน นักมวยไทยชาวอาร์มีเนีย-อิตาลี
- ชาร์ลี อดัม นักฟุตบอลทีมชาติสกอตแลนด์
- เล กง วิญ นักฟุตบอลชาวเวียดนาม
- พ.ศ. 2530 (ค.ศ. 1987) -
- กอนซาโล อิกัวอิน นักฟุตบอลชาวอาร์เจนตินา
- พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988) -
- ไซมอน เชิร์ช นักฟุตบอลชาวอังกฤษ-เวลส์
- เนเวน ซูบอติช นักฟุตบอลชาวบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา
- กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า นักแสดง นางแบบ นักร้อง พิธีกรชาวไทยเชื้อสายจีน
- พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) -
- เมารู ฌูบ ปูงเตส ฌูนีโยร์ นักฟุตบอลชาวบราซิล
- เนโกะ จัมพ์ นักร้องหญิงชาวไทย
- พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) -
- เล็นคา เดือร์ นักวอลเลย์บอลชาวเยอรมัน
- พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) - อัครวุฒิ มังคลสุต นักแสดงและนายแบบชาวไทย
- พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999) - รีสส์ เนลสัน นักฟุตบอลชาวอังกฤษ
- พ.ศ. 2544 (ค.ศ. 2001) - เจมี มาร์โกลิน นักเคลื่อนไหวเพื่อปกป้องสภาพภูมิอากาศชาวอเมริกัน
- พ.ศ. 2557 (ค.ศ. 2014) -
วันถึงแก่กรรม
[แก้]- พ.ศ. 2439 (ค.ศ. 1896) - อัลเฟรด โนเบล นักเคมี (เกิด 21 ตุลาคม พ.ศ. 2376)
- พ.ศ. 2545 (ค.ศ. 2002) - ชูเกียรติ อุทกะพันธุ์ ผู้ให้กำเนิดสำนักพิมพ์ 'อมรินทร์'
- พ.ศ. 2549 (ค.ศ. 2006) - เอากุสโต ปิโนเช ประธานาธิบดีชิลี
- พ.ศ. 2559 (ค.ศ. 2016) - ลพ บุรีรัตน์ นักแต่งเพลงลูกทุ่ง (เกิด 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2482)
- พ.ศ. 2564 (ค.ศ. 2021) - ประยอม ซองทอง นักเขียนชาวไทย (เกิด 1 มกราคม พ.ศ. 2477)
- พ.ศ. 2567 (ค.ศ. 2024) - สันติ ลุนเผ่ นักร้องประจำคณะดุริยางค์แห่งกองทัพไทย (เกิด 22 มิถุนายน พ.ศ. 2479)
วันสำคัญและวันหยุดเทศกาล
[แก้]- ไทย – วันรัฐธรรมนูญ
- ไทย – วันโทรทัศน์และวิทยุเพื่อเด็ก
- สวีเดน – พิธีมอบรางวัลโนเบล, วันประดับธง
- วันธรรมศาสตร์ – วันที่ระลึกการสถาปนามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (เปลี่ยนจากเดิม 24 มิถุนายน)
- วันสิทธิมนุษยชน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Rowe, Joseph M., Jr. (1991). "Treaty of Paris of 1898". ใน Olson, James Stuart; Shadle, Robert (บ.ก.). Historical Dictionary of European Imperialism. New York: Greenwood Press. p. 624. ISBN 9780313262579.
- ↑ Natalie A. Naylor; Douglas Brinkley; John A. Gable (1992). Theodore Roosevelt--many-sided American. Heart of the Lakes Pub. p. 20. ISBN 978-1-55787-085-8.
- ↑ Coral Lansbury (1985). The Old Brown Dog: Women, Workers, and Vivisection in Edwardian England. University of Wisconsin Press. p. 17. ISBN 978-0-299-10250-0.
- ↑ Folkerdina Stientje de Vrieze; Selma Lagerlöf (1958). Fact and Fiction in the Autobiographical Works of Selma Lagerlöf. Van Gorcum. p. 371.
- ↑ Boston, Jonathan (2000). Left Turn: The New Zealand General Election of 1999 (ภาษาอังกฤษ). Victoria University Press. p. 248. ISBN 9780864734044.
- ↑ "Prime Ministers of New Zealand since 1856". New Zealand Parliament. 18 January 2019. สืบค้นเมื่อ 1 September 2019.