ข้ามไปเนื้อหา

ไทเกอร์ วูดส์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไทเกอร์ วูดส์
ไทเกอร์ วูดส์ ที่ทำเนียบขาวในเดือนพฤษภาคม ค.ศ.2019
ข้อมูลส่วนตัว
ชื่อเต็มEldrick Tont Woods
ฉายาTiger
เกิด (1975-12-30) 30 ธันวาคม ค.ศ. 1975 (48 ปี)
Cypress, California
ส่วนสูง6 ฟุต 1 นิ้ว (185 เซนติเมตร)[1]
น้ำหนัก185 ปอนด์ (84 กิโลกรัม)[1]
สัญชาติ สหรัฐ
ที่อาศัยJupiter Island, Florida
คู่สมรสElin Nordegren (สมรส 2004; หย่า 2010)
บุตร2
การเล่นอาชีพ
การศึกษามหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด
(2 ปี)
เริ่มเล่นอาชีพ1996
ทัวร์ล่าสุดPGA Tour (เข้าร่วมในปีค.ศ.1996)
ชนะเลิศอาชีพ108[2]
ชนะเลิศแยกตามการแข่งขัน
แอลพีจีเอ ทัวร์81 (2nd all time)
European Tour41 (3rd all time)[notes 1][3]
Japan Golf Tour2
Asian Tour1
PGA Tour of Australasia1
อื่น ๆ16
ผลงานที่ดีที่สุดในเมเจอร์แชมเปียนชิป
(ชนะ: 15)
มาสเตอส์ทัวร์นาเมนต์Won: 1997, 2001, 2002, 2005, 2019
พีจีเอ แชมเปียนชิปWon: 1999, 2000, 2006, 2007
ยูเอสโอเพนWon: 2000, 2002, 2008
ดิ โอเพน แชมเปียนชิปWon: 2000, 2005, 2006
ผลงานและรางวัล
PGA Tour
Rookie of the Year
1996
PGA Player of the Year1997, 1999, 2000, 2001, 2002, 2003, 2005, 2006, 2007, 2009, 2013
PGA Tour
Player of the Year
1997, 1999, 2000, 2001, 2002, 2003, 2005, 2006, 2007, 2009, 2013
PGA Tour
leading money winner
1997, 1999, 2000, 2001, 2002, 2005, 2006, 2007, 2009, 2013
Vardon Trophy1999, 2000, 2001, 2002, 2003, 2005, 2007, 2009, 2013
Byron Nelson Award1999, 2000, 2001, 2002, 2003, 2005, 2006, 2007, 2009
FedEx Cup Champion2007, 2009
Presidential Medal of Freedom2019
(สำหรับรางวัลทั้งหมด ดูที่นี่)

เอลดริก ต้น “ไทเกอร์ วู๊ดส์” (เกิดวันที่ 30 ธันวาคม ค.ศ. 1975) Eldrick Tont "Tiger" Woods (born December 30, 1975)[4][5] เป็น นักกอล์ฟอาชีพ สัญชาติอเมริกาซึ่งเป็นนักกอล์ฟที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดตลอดกาลคนหนึ่ง เขายังเคยเป็น นักกีฬาที่ทำรายได้สูงที่สุด ในโลกเป็นระยะเวลาหลายปี แฟนๆและสื่อยกย่องให้เขาเป็นหนึ่งในนักกีฬาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล

วู๊ดส์ เทิรน์โปร ในปีค.ศ. 1996 และในเดือนเมษายน ค.ศ. 1997 เขาชนะแชมป์เมเจอร์รายการแรก ในรายการ เดอะมาสเตอร์ 1997 โดยทำลายสถิติสนามด้วยการชนะรายการการแข่งขันที่18 อันเดอร์พาร์ และรับเงินรางวัลเป็นจำนวนเงิน 486,000 เหรียญดอลล่าร์สหรัฐ เขาก้าวขึ้นเป็นนักกอล์ฟ หมายเลขหนึ่ง ของ อันดับโลก ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1997 ในช่วงทศวรรษที่ 20 วู๊ดส์ได้สร้างความโดดเด่นอย่างมากในกีฬากอล์ฟ โดยสามารถครองตำแหน่งนักกอล์ฟหมายเลขหนึ่งของโลกระยะเวลาถึง 264 สัปดาห์ตั้งแต่ช่วงเดือนสิงหาคมปี 1999 ถึงเดือนกันยายนปี 2004 และระยะเวลา 281 สัปดาห์ตั้งแต่เดือนมิถุนายน ปี 2005 ถึงเดือนตุลาคม ปี 2010 ตั้งแต่เดือนธันวาคมปี 2009 ถึงต้นเดือนเมษายนปี 2010 วู๊ดส์ได้หยุดพักจากแข่งขันกอล์ฟอาชีพเพื่อมาให้ความสำคัญกับเรื่องการแต่งงานของเขา หลังจากที่เขาออกมายอมรับเรื่อง การนอกใจภรรยา การนอกใจของเขาถูกเปิดโปงโดยผู้หญิงหลายคนผ่านทางแหล่งข่าวต่าง ๆ ทั่วประเทศ[6] เหตุการณ์เหล่านี้ส่งผลต่อฟอร์มการเล่นกอล์ฟที่ย่ำแย่ของเขา โดยอันดับโลกตกไปอยู่ถึงอันดับที่ 58 ของโลกในเดือนพฤศจิกายนปี 2011[7][8] เขาจบฤดูการแข่งขันด้วยสถิติไม่ชนะติดต่อกันถึง 107 สัปดาห์นับตั้งแต่เข้าร่วมแข่งขันในรายการ เชฟรอนเวิร์ดชาแลนจ์ ในเดือนธันวาคมปี 2011[8] หลังจากที่ชนะการแข่งขันในรายการ อาร์โนล์ด พาร์เมอร์ อินวิเทชั่น ในเดือนมีนาคมปี 2013 เขาก็กลับขึ้นมาครองตำแหน่งนักกอล์ฟหมายเลขหนึ่งของโลกอีกครั้ง และครองอันดับยาวถึงเดือนพฤษภาคมปี 2014

วู๊ดส์ได้ทำลายสถิติกีฬากอล์ฟหลายรายการ เขาครองตำแหน่งนักกอล์ฟอันดับหนึ่งของโลกโดยมีระยะเวลาต่อเนื่องยาวนานที่สุด และมีจำนวนสัปดาห์ที่มากที่สุดมากกว่านักกอล์ฟคนอื่น ๆ เขาได้รับ รางวัลผู้เล่นแห่งปีจากพีจีเอ จำนวน 11 สมัย[9] และรางวัล ไบรอน เนลสัน อะวอร์ด สำหรับรางวัลการถูกตัดแต้มน้อยที่สุด จำนวน 8 สมัย และยังเป็นผู้นำอันดับหนึ่งของนักกอล์ฟที่ทำเงินรางวัลสูงสุดถึง 10 ฤดูกาลแข่งขัน เขาชนะการแข่งขันกอล์ฟอาชีพ รายการ เมเจอร์ กอล์ฟ แชมป์เปี้ยนชิป ถึง 15 ครั้ง ซึ่งเป็นผู้เล่นที่ชนะการแข่งขันสุงสุดเป็นอันดับที่สอง (แจ็ค นิคคลอส เป็นผู้นำโดยชนะ 18 ฤดูกาล) และชนะรายการต่าง ๆ ของ พีจีเอทัวร์ ถึง 79 รายการ ตามหลังผู้เล่นตลอดการ แซม สเนียด ซึ่งชนะ82 รายการ[10] เขาเป็นแชมป์รายการเมเจอร์ และ รายการพีจีเอทัวร์ มากที่สุดในบรรดานักกอล์ฟที่ยังลงแข่งขันกันอยู่ เขายังป็นผู้เล่นที่อายุน้อยที่สุดที่ได้แชมป์ แกรนด์สแลม และเป็นผู้เล่นที่อายุน้อยที่สุดและรวดเร็วที่สุดในการชนะการแข่งขันถึง 50 รายการ เขาเป็นนักกอล์ฟคนที่สองที่สามารถชนะ แกรนด์ สแลม ได้ถึงสามสมัย หลังจากที่ แจ๊ด นิคคลอส เคยทำสถิติไว้ เขาชนะรายการ เวิร์ด กอล์ฟ แชมป์เปี้ยนชิป ถึง 18 ครั้ง ซึ่งรายการอย่างน้อยหนึ่งในนั้นอยู่ในช่วง 11 ปีแรกตั้งแต่มีการเริ่มต้นการแข่งขันในปี 1999 วู๊ดส์และ รอรี่ย์ แม็ค อินรอยส์เป็นนักกอล์ฟเพียงสองคนที่ชนะได้ทั้งเหรียญทองและ เหรียญเงิน จากการแข่งขัน ดิโอเพ่น แชมป์เปี้ยนชิป

ประวัติและครอบครัว

[แก้]
Woods with his father Earl in 2004

วู้ดส์เกิดที่เมืองไซเพรส แคลิฟอร์เนีย จากเอิร์ล (1932-2006) และกุลธิดา (ธิดา) วู้ดส์ (เกิดเมื่อปี 1944) เขาเป็นบุตรชายคนเดียวของทั้งคู่ แต่เขาก็ยังมีพี่ชายต่างมารดา 2 คนคือ เอิร์ล จูเนียร์ (เกิดปี 1955) และ เควิน (เกิดปี 1957) และพี่สาวต่างมารดา 1 คนคือ รอยส์ (เกิดปี 1958) ซึ่งเกิดจากภรรยาคนแรกชื่อ บาร์บารา วู้ดส์ เกรย์[11] ซึ่งแต่งงานกันเป็นระยะเวลา 18 ปี เอิร์ล เป็น นายทหารปลดประจำการ และเป็นพันโทและเป็นทหารผ่านศึกจากสงครามเวียดนาม มีเชื้อสายแอฟริกัน-อเมริกัน คอร์เคเชียน และอาจเป็นชนพื้นเมืองในทวีปอเมริกาและจีน[12] กุลธิดา (นามสกุลเดิม: พูนสวัสดิ์) เกิดที่ประเทศไทย (ซึ่งเอิร์ลพบกับเธอเมื่อตอนมาประจำการในปี 1968) มีเชื้อสายไทย จีน และดัตช์[13] วู้ดส์เรียกชาติพันธุ์ของตนว่า "แคบลิเนเชียน" (Cablinasian มาจาก Caucasian, Black, American Indian, และ Asian) [14]

ชื่อแรกของวู้ดส์ เอลดริก ตั้งโดยคุณแม่ มาจากอักษรตัวแรก "E" (จากเอิร์ล) และลงท้ายด้วยอักษร "K" (จากกุลธิดา) ชื่อกลางของเขา ต้น (Tont) มาจากชื่อในภาษาไทย ชื่อเล่นของเขา ไทเกอร์ ตั้งเพื่อเป็นเกียรติให้กับเพื่อนพ่อของเขา เหวื่อง ดัง ฟง ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนาม ไทเกอร์[15]

วู้ดส์ มีหลานหนึ่งคน ชื่อ ไชยาน วู้ดส์ ซึ่งเค่ยเล่นอยู่ในทีมกอล์ฟของมหาวิทยาลัยเวกฟอเรสต์ และเทิร์นโปรเมื่อปี 2012 และเปิดตัวครั้งแรกในการแข่งขัน แอลพีจีเอแชมเปียนชิป [16]

รายการเมเจอร์

[แก้]

ผลงาน

[แก้]
Tournament 1995 1996 1997 1998 1999
มาสเตอส์ทัวร์นาเมนต์ T41 LA CUT 1 T8 T18
U.S. Open WD T82 T19 T18 T3
The Open Championship T68 T22 LA T24 3 T7
PGA Championship T29 T10 1
Tournament 2000 2001 2002 2003 2004 2005 2006 2007 2008 2009
มาสเตอส์ทัวร์นาเมนต์ 5 1 1 T15 T22 1 T3 T2 2 T6
U.S. Open 1 T12 1 T20 T17 2 CUT T2 1 T6
The Open Championship 1 T25 T28 T4 T9 1 1 T12 CUT
PGA Championship 1 T29 2 T39 T24 T4 1 1 2
Tournament 2010 2011 2012 2013 2014 2015 2016 2017 2018 2019
มาสเตอส์ทัวร์นาเมนต์ T4 T4 T40 T4 T17 T32 1
U.S. Open T4 T21 T32 CUT CUT
The Open Championship T23 T3 T6 69 CUT T6
PGA Championship T28 CUT T11 T40 CUT CUT 2
  ชนะเลิศ
  Top 10
  Did not play
  • LA = Low amateur
  • CUT = missed the half-way cut
  • WD = withdrew
  • "T" indicates a tie for a place

ชนะเลิศ (15)

[แก้]
Year Championship 54 Holes Winning Score Margin Runner(s) Up
1997 The Masters 9 shot lead -18 (70-66-65-69=270) 12 strokes สหรัฐ Tom Kite
1999 PGA Championship Tied for lead -11 (70-67-68-72=277) 1 stroke สเปน Sergio García
2000 U.S. Open 10 shot lead -12 (65-69-71-67=272) 15 strokes แอฟริกาใต้ Ernie Els, สเปน Miguel Ángel Jiménez
2000 The Open Championship 6 shot lead -19 (67-66-67-69=269) 8 strokes Thomas Bjørn, แอฟริกาใต้ Ernie Els
2000 PGA Championship (2) 1 shot lead -18 (66-67-70-67=270) Playoff 1 สหรัฐ Bob May
2001 The Masters (2) 1 shot lead -16 (70-66-68-68=272) 2 strokes สหรัฐ David Duval
2002 The Masters (3) Tied for lead -12 (70-69-66-71=276) 3 strokes แอฟริกาใต้ Retief Goosen
2002 U.S. Open (2) 4 shot lead -3 (67-68-70-72=277) 3 strokes สหรัฐ Phil Mickelson
2005 The Masters (4) 3 shot lead -12 (74-66-65-71=276) Playoff 2 สหรัฐ Chris DiMarco
2005 The Open Championship (2) 2 shot lead -14 (66-67-71-70=274) 5 strokes Colin Montgomerie
2006 The Open Championship (3) 1 shot lead -18 (67-65-71-67=270) 2 strokes สหรัฐ Chris DiMarco
2006 PGA Championship (3) Tied for lead -18 (69-68-65-68=270) 5 strokes สหรัฐ Shaun Micheel
2007 PGA Championship (4) 3 shot lead -8 (71-63-69-69=272) 2 strokes สหรัฐ Woody Austin
2008 U.S. Open (2) 1 shot lead -1 (72-68-70-73=283) Playoff 3 สหรัฐ Rocco Mediate
2019 The Masters (5) 2 shot deficit −13 (70-68-67-70=275) 1 stroke สหรัฐ Dustin Johnson, สหรัฐ Brooks Koepka, สหรัฐ Xander Schauffele

1 Defeated Bob May in three-hole playoff by 1 stroke: Woods (3-4-5=12), May (4-4-5=13)
2 Defeated Chris DiMarco with birdie on first extra hole 3 Defeated Rocco Mediate with a par on 1st sudden death hole after 18-hole playoff was tied at even par

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "Tiger Woods – Profile". PGA Tour. สืบค้นเมื่อ June 7, 2015.
  2. This is calculated by adding Woods' 81 PGA Tour victories, 8 regular European Tour titles, 2 Japan Tour wins, 1 Asian Tour crown, and the 16 other wins in his career.
  3. 2009 European Tour Official Guide Section 4 Page 577 PDF 21. European Tour. Retrieved April 21, 2009. เก็บถาวร มกราคม 26, 2010 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  4. Sounes, Howard (2004). The Wicked Game: Arnold Palmer, Jack Nicklaus, Tiger Woods, and the Story of Modern Golf. Harper Collins. pp. 120–121, 293. ISBN 0-06-051386-1.
  5. Divorce decree August 23, 2010. Retrieved September 28, 2010.
  6. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ legend
  7. "Westwood becomes world number one". BBC News. October 31, 2010.
  8. 8.0 8.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ chevron
  9. Kelley, Brent (October 20, 2009). "Woods Clinches PGA Player of the Year Award". About.com: Golf. สืบค้นเมื่อ December 2, 2009.
  10. "Tracking Tiger". NBC Sports. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-06-03. สืบค้นเมื่อ June 3, 2009.
  11. His Father's Son: Earl and Tiger Woods, by Tom Callahan, 2010; The Wicked Game, by Howard Sounes, 2004
  12. Earl Woods. Telegraph (June 5, 2006). Retrieved June 19, 2012.
  13. "Earning His Stripes". AsianWeek. October 11, 1996. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1998-01-16. สืบค้นเมื่อ June 18, 2009.
  14. "Woods stars on Oprah, says he's 'Cablinasian'". Lubbock Avalanche-Journal. Associated Press. April 23, 1997. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-12. สืบค้นเมื่อ June 18, 2009.
  15. Callahan, Tom (May 9, 2006). "Tiger's dad gave us all some lessons to remember". Golf Digest. สืบค้นเมื่อ January 24, 2012.
  16. Chandler, Rick (June 7, 2012). "Tiger Woods' niece makes her major pro golf tourney debut today". NBC Sports. สืบค้นเมื่อ June 7, 2012.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]


อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref> สำหรับกลุ่มชื่อ "notes" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="notes"/> ที่สอดคล้องกัน