แฮกกาธอน
แฮกกาธอน (อังกฤษ: Hackathon) นอกจากนี้ยังเป็นที่รู้จักในชื่อ แฮกเดย์, แฮกเฟสต์ หรือ โค้ดเฟสต์ เป็นอีเวนต์ที่นักเขียนโปรแกรมและอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาซอฟต์แวร์ รวมไปถึงนักออกแบบกราฟิก, นักออกแบบส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ และผู้จัดการโครงการ มาช่วยเหลือกันอย่างคร่ำเคร่งในโครงการซอฟต์แวร์[1] ในบางโอกาส ก็มีฮาร์ดแวร์มาเป็นส่วนเสริมเช่นกัน ซึ่งงานแฮกกาธอน มักจะมีอายุระหว่างหนึ่งวันหรือหนึ่งสัปดาห์ บางงานแฮกกาธอนมีจุดมุ่งหมายเพียงเพื่อการศึกษาหรือวัตถุประสงค์ทางสังคม แม้ว่าในหลายกรณีเป้าหมายคือการสร้างซอฟต์แวร์ที่ใช้งานได้ แฮกกาธอนมีแนวโน้มที่จะมุ่งเน้นแบบเจาะจง ซึ่งอาจรวมถึงภาษาโปรแกรมที่ใช้, ระบบปฏิบัติการ, แอพพลิเคชัน, เอพีไอ หรือประเด็นและกลุ่มผู้เข้าชมของโปรแกรมเมอร์ ในกรณีอื่น ๆ อาจไม่มีข้อจำกัดอยู่กับชนิดของซอฟแวร์ที่ถูกสร้างขึ้น
จุดกำเนิดและความเป็นมา
[แก้]คำว่า "แฮกกาธอน" เป็นคำผสมระหว่างคำว่า "แฮก" และ "มาราธอน" ซึ่งคำว่าแฮกได้รับการนำมาใช้ในความหมายของการเขียนโปรแกรมสำรวจตรวจค้น โดยไม่ได้มีความหมายอ้างอิงถึงอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ คำนี้ดูเหมือนว่าจะได้รับการทำให้เกิดขึ้นอย่างเป็นอิสระโดยนักพัฒนาของโอเพนบีเอสดี และทีมการตลาดของซัน ซึ่งการใช้นี้เกิดขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1999 [ต้องการอ้างอิง]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ The Hackathon Is On: Pitching and Programming the Next Killer App, Steven Leckart, Wired, March 2012
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- "Media-Making Strategies to Support Community and Learning at Hackathons". MIT Center for Civic Media. June 30, 2014.