มัสยิดบาบรี
บาบรีมัสยิด | |
---|---|
มัสยิดอ์ชนมสถาน (Masjid-i-Janmasthan) | |
มัสยิดบาบรี ภาพถ่ายโดย Samuel Bourne ศตวรรษที่ 19 | |
ศาสนา | |
ศาสนา | ศาสนาอิสลาม |
ที่ตั้ง | |
ที่ตั้ง | อโยธยา, รัฐอุตตรประเทศ, ประเทศอินเดีย |
พิกัดภูมิศาสตร์ | 26°47′44″N 82°11′40″E / 26.7956°N 82.1945°E |
สถาปัตยกรรม | |
รูปแบบ | ตุฆลัก (Tughlaq) |
เสร็จสมบูรณ์ | 1528–29 |
ทำลาย | 1992 |
มัสยิดบาบรี (ไอเอเอสที: Bābarī Masjid (บาบะรี มัสจิด); แปลตรงตัวว่า มัสยิดของ[จักรพรรดิ]บาบูร์) เป็นอดีตมัสยิดในเมืองอโยธยา, ประเทศอินเดีย ซึ่งสร้างอยู่บนสถานที่ที่ชาวฮินดูเชื่อว่าเป็นสถานที่ประสูติของพระราม เทพเจ้าในศาสนาฮินดู และได้กลายเป็นประเด็นถกเถียงระหว่างชุมชนฮินดูและมุสลิมมาตลอดตั้งแต่ศควรรษที่ 18[1] จารึกของมัสยิดระบุว่ามัสยิดนั้นสร้างขึ้นในปี 1528–29 (ฮิจเราะห์ศักราช 935) โดยนายพลมีร์บากี ภายใต้พระราชกระแสรับสั่งของจักรพรรดิโมกุล จักรพรรดิบาบูร์ มัสยิดได้ถูกโจมตีและทุบทำลายลงในปี 1992 โดยกรเสวกฮินดู ซึ่งได้นำไปสู่ความรุนแรงทั่วอนุทวีปอินเดีย
มัสยิดตั้งอยู่บนเนินเขารามโกต (Ramkot; "ป้อมของพระราม")[2] ชาวฮินดูเชื่อกันว่ามีร์บากีได้ทุบทำลายโบสถ์พราหมณ์หลังเดิมเพื่อสร้างขึ้นเป็นมัสยิด การมีอยู่หรือไม่ของโบสถ์พราหมณ์เดิมก่อนการมีอยู่ของมัสยิดนี้เป็นหนึ่งในประเด็นถกเถียงที่สำคัญ[3]
ความขัดแย้งหลายครั้งได้เริ่มมีขึ้นในศตวรรษที่ 19 ระหว่างชาวฮินดูและมุสลิม ในปี 1949 ได้มีนักกิจกรรมชาวฮินดูภายใต้กำกับดูแลของฮินดูมหาสภาได้แอบนำเทวรูปของพระรามไปประดิษฐานภายในมัสยิด ภายหลังรัฐบาลได้ล็อกมัสยิดเพื่อป้องกันการพิพาทที่อาจเกิดขึ้น ได้มีการยื่นเรื่องต่อศาลจากทั้งชาวมุสลิมและฮินดูเพื่อร้องขอให้รัฐบาลเปิดมัสยิดตามเดิม
ในวันที่ 6 ธันวาคม 1992 ได้มีกลุ่มนักกิจกรรมฮินดูจำนวนมากภายใต้กำกับดูแลของวิศวะฮินดูบริษัทและหน่วยงานเกี่ยวข้องได้เข้าทุบทำลายมัสยิดบาบรี ซึ่งต่อมาได้นำไปสู่เหตุจลาจลทั่วทั้งอนุทวีปอินเดีย มีผู้เสียชีวิตประมาณ 2,000 คน[4][5][6][7]
ในเดือนกันยายน 2010 ศาลสูงอลาหาบาดได้ตัดสินให้พื้นที่เป็นของชาวฮินดูเพื่อก่อสร้างมนเทียรบูชาพระราม ในขณะที่ชาวมุสลิมได้รับแบ่งพื้นที่หนึ่งในสามเพื่อสร้างมัสยิด[8][9] คำตัดสินนี้ได้ถูกระงับในปี 2019 เมื่อศาลสูงสุดของประเทศอินเดียตัดสิน[9][9][10]ให้พื้นที่ทั้งหมดเป็นของรัฐบาลภายใต้คณะกรรมการบริหารเพื่อสร้างเป็นโบสถ์พราหมณ์ทั้งหมด และให้รัฐบาลจัดหาพื้นที่ใหม่ทดแทนขนาด 5 เอเคอร์สำหรับคณะกรรมการซุนนีวักฟ์ในการสร้างมัสยิดขึ้นใหม่แทนของเดิม[11]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Timeline: Ayodhya holy site crisis". BBC News. 6 December 2012.
- ↑ Hiltebeitel, Alf (2009), Rethinking India's Oral and Classical Epics: Draupadi among Rajputs, Muslims, and Dalits, University of Chicago Press, pp. 227–, ISBN 978-0-226-34055-5
- ↑ Udayakumar, S.P. (August 1997). "Historicizing Myth and Mythologizing History: The 'Ram Temple' Drama". Social Scientist. 25 (7). JSTOR 3517601.
- ↑ Fuller, Christopher John (2004), The Camphor Flame: Popular Hinduism and Society in India, Princeton University Press, p. 262, ISBN 0-691-12048-X
- ↑ Guha, Ramachandra (2007). India After Gandhi. MacMillan. pp. 582–598.
- ↑ Khalid, Haroon (14 November 2019). "How the Babri Masjid Demolition Upended Tenuous Inter-Religious Ties in Pakistan". The Wire. สืบค้นเมื่อ 30 May 2020.
- ↑ "As a reaction to Babri Masjid demolition, What had happened in Pakistan and Bangladesh on 6 December, 1992". The Morning Chronicle. 6 December 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-03. สืบค้นเมื่อ 30 May 2020.
- ↑ The Three Way Divide, Outlook, 30 September 2010.
- ↑ 9.0 9.1 9.2 "Ayodhya dispute: The complex legal history of India's holy site". BBC News. สืบค้นเมื่อ 16 October 2019.
- ↑ "Supreme Court hearing ends in Ayodhya dispute; orders reserved". The Hindu Business Line. Press Trust of India. 2019-10-16. สืบค้นเมื่อ 2019-10-18.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "Ram Mandir verdict: Supreme Court verdict on Ram Janmabhoomi-Babri Masjid case". The Times of India. 2019-11-09. สืบค้นเมื่อ 2019-11-09.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
บรรณานุกรม
[แก้]- Allahabad High Court (30 August 2010). "Decision of Hon'ble Special Full Bench hearing Ayodhya Matters". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 August 2014. สืบค้นเมื่อ 2014-12-27.
- Jain, Meenakshi (2013). Rama and Ayodhya. New Delhi: Aryan Books. ISBN 978-8173054518.
- Kunal, Kishore (2016), Ayodhya Revisited, Prabhat Prakashan, pp. 335–, ISBN 978-81-8430-357-5
- Narain, Harsh (1993). The Ayodhya Temple Mosque Dispute: Focus on Muslim Sources. Delhi: Penman Publishers.
- van der Veer, Peter (1992). "Ayodhya and Somnath: Eternal Shrines, Contested Histores". Social Research. 59 (1): 85–109. ISSN 0037-783X. JSTOR 40970685.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Ram Sharan Sharma. Communal History and Rama's Ayodhya, People's Publishing House (PPH), 2nd Revised Edition, September 1999, Delhi. Translated into Bengali, Hindi, Kannada, Tamil, Telugu and Urdu. Two versions in Bengali.
- Sita Ram Goel: Hindu Temples - What Happened to Them, Voice of India, Delhi 1991. 1 2