ข้ามไปเนื้อหา

ภาษาอาหรับซิซิลี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษาอาหรับซิซิลี
العربية الصقلية
ประเทศที่มีการพูดเอมิเรตซิซิลี
ยุคคริสต์ศตวรรษที่ 9–13
ตระกูลภาษา
ระบบการเขียนชุดตัวอักษรอาหรับ
รหัสภาษา
ISO 639-3sqr

ภาษาอาหรับซิซิลี (อังกฤษ: Siculo-Arabic, Sicilian Arabic; อาหรับ: اللَّهْجَة الْعَرَبِيَّة الصِّقِلِّيَّة, อักษรโรมัน: al-lahja l-ʿarabiyya ṣ-ṣiqilliyya) เป็นศัพท์ที่ใช้เรียกวิธภาษาอาหรับที่เคยมีผู้พูดในเอมิเรตซิซิลี (รวมมอลตา) ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 9 ซึ่งยังคงดำรงอยู่ภายใต้การปกครองของนอร์มันจนกระทั่งคริสต์ศวรรษที่ 13[1] ภาษานี้มาจากภาษาอาหรับมัฆริบตอนต้นหลังการพิชิตของอับบาซียะฮ์ในซิซิลีเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 9 และค่อย ๆ สูญหายหลังการพิชิตของนอร์มันในคริสต์ศตวรรษที่ 11

ภาษาอาหรับซิซิลีสูญหายแล้วและจัดให้เป็นภาษาในอดีตที่ได้รับการยืนยันในงานเขียนจากคริสต์ศตวรรษที่ 9–13 ที่ซิซิลี[2][3] อย่างไรก็ตาม ภาษามอลตาในปัจจุบันถือเป็นภาษารุ่นถัดมาภาษาเดียวที่มีผู้พูดอยู่ ซึ่งมีรากฐานจากภาษากลุ่มเซมิติกที่วิวัฒนาการจากภาษาย่อยหนึ่งจากภาษาอาหรับซิซิลีเป็นเวลามากกว่า 800 ปี ผ่านกระบวนการทำให้เป็นละติน ซึ่งทำให้ภาษามอลตามีอิทธิพลภาษากลุ่มโรมานซ์สำคัญที่วางซ้อนด้วย[4][5][6] ในทางตรงข้าม ภาษาซิซิลีในปัจจุบัน ซึ่งเป็นภาษากลุ่มโรมานซ์ สาขาอิตาลี-ดัลมาเทีย คงศัพท์ภาษาอาหรับซิซิลีน้อยมาก โดยมีอิทธิพลจากภาษานี้จำกัดเพียงประมาณ 300 คำ[7]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ISO 639-3 Registration Authority Request for Change to ISO 639-3 Language Code" (PDF).
  2. "639 Identifier Documentation: sqr".
  3. "ISO 639-3 Registration Authority Request for New Language Code Element in ISO 639-3" (PDF).
  4. "ISO 639-3 Registration Authority Request for New Language Code Element in ISO 639-3" (PDF).
  5. So who are the 'real' Maltese. 14 September 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-12. The kind of Arabic used in the Maltese language is most likely derived from the language spoken by those that repopulated the island from Sicily in the early second millennium; it is known as Siculo-Arab. The Maltese are mostly descendants of these people.
  6. Brincat, 2005. Maltese – an unusual formula. Originally Maltese was an Arabic dialect but it was immediately exposed to Latinisation because the Normans conquered the islands in 1090, while Christianisation, which was complete by 1250, cut off the dialect from contact with Classical Arabic. Consequently Maltese developed on its own, slowly but steadily absorbing new words from Sicilian and Italian according to the needs of the developing community.
  7. Ruffino, Giovanni (2001). Sicilia. Editori Laterza, Bari. pp. 18–20.

ข้อมูล

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
  • Agius, Dionisius A. "Who Spoke Siculo Arabic?", XII Incontro Italiano di Linguistica Camitio-semitica (Afroasiatica), ATTI a cura di Marco Moriggi, Rubbettino 2007. 25–33. สิ่งพิมพ์เผยแพร่เข้าถึงแบบเปิด อ่านได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย