วอร์เรน บัฟเฟตต์
เนื้อหาในบทความนี้ล้าสมัย โปรดปรับปรุงข้อมูลให้เป็นไปตามเหตุการณ์ปัจจุบันหรือล่าสุด ดูหน้าอภิปรายประกอบ |
วอร์เรน เอดเวิร์ด บัฟเฟตต์ (อังกฤษ: Warren Edward Buffett) เกิดเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม ค.ศ. 1930 ที่เมืองโอมาฮา รัฐเนแบรสกา ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นนักธุรกิจและนักลงทุนผู้ใจบุญชาวอเมริกันโดยเป็นซีอีโอของบริษัทเบิร์กเชียร์ ฮาธาเวย์[4] ได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในโลก โดยมีทรัพย์สินเมื่อเดือน มกราคม ค.ศ. 2024 อยู่ที่ประมาณ 117,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้เขาเป็นบุคคลที่รวยเป็นอันดับที่ 7 ของโลก
วอร์เรน บัฟเฟตต์ | |
---|---|
เกิด | โอมาฮา , รัฐเนแบรสกา สหรัฐอเมริกา 30 สิงหาคม ค.ศ. 1930 |
สัญชาติ | อเมริกัน |
อาชีพ | ประธานและซีอีโอ , เบิร์กเชียร์ ฮาธาเวย์ |
คู่สมรส | ซูซาน บัฟเฟตต์ (1952–2004) (เสียชีวิต), แอสตริด เมงค์ (2006–)[1] |
บุตร | ซูซี บัฟเฟตต์, โฮเวิร์ต แกรแฮม บัฟเฟตต์, ปีเตอร์ บัฟเฟตต์ |
เว็บไซต์ | www.berkshirehathaway.com |
ลายมือชื่อ | |
บัฟเฟตต์มักจะได้รับฉายาว่าเป็น เทพพยากรณ์แห่งโอมาฮา [5] หรือไม่ก็ ปราชญ์แห่งโอมาฮา[6] เขามีชื่อเสียงจากปรัชญาการลงทุนแบบเน้นคุณค่าและความเป็นอยู่อย่างประหยัด ถึงแม้ว่าเขาจะร่ำรวยก็ตาม เขายังมีชื่อเสียงจากความใจบุญ วันที่ 11 เมษายน ค.ศ. 2012 เขาได้รับการวินิจฉัยเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก และได้รับการรักษาสมบูรณ์ในเดือนกันยายน ปี 2012
บัฟเฟตต์นับเป็นผู้ใจบุญสุนทานคนหนึ่ง เขาให้สัญญาที่จะบริจาคทรัพย์สิน 99 เปอร์เซ็นต์ของเขาให้กับการกุศล โดนหลักผ่านทางมูลนิธิบิลและเมลินดาเกตส์
ประวัติช่วงต้นและการศึกษา
แก้บัฟเฟตต์เกิดในปี ค.ศ. 1930 ที่เมืองโอมาฮา รัฐเนแบรสกา โดยเป็นลูกคนที่สองจากสามคน และเป็นลูกชายคนเดียวของผู้แทนสภาสหรัฐ ฮาเวิร์ด บัฟเฟตต์ เขาเริ่มเรียนชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนประถม Rose Hill ในโอมาฮา หลังจากจบมัธยมศึกษาและพบความสำเร็จในด้านธุรกิจและการลงทุน เขาอยากที่จะไม่เรียนต่อมหาวิทยาลัยแต่ถูกพ่อขัดขวางเอาไว้
บัฟเฟตต์มีความสนใจในเรื่องธุรกิจและการลงทุนตั้งแต่เด็ก เขาได้รับแรงบันดาลใจจากหนังสือ One Thousand Ways to Make $1000 ที่ยืมมาจากห้องสมุดในวัย 7 ขวบ หนึ่งในธุรกิจแรกที่บัฟเฟตต์ทำคือการขายหมากฝรั่ง, โค้ก, และนิตยสารรายสัปดาห์ตามบ้าน ในสมัยมัธยมปลาย บัฟเฟตต์และเพื่อนรวมเงินกัน 25 ดอลลาร์เพื่อซื้อเครื่องเล่นพินบอลใช้แล้วไปตั้งไว้ในร้านตัดผม ไม่กี่เดือนต่อมา เขาก็มีเครื่องเล่นพินบอลตั้งในร้านตัดผม 3 แห่งทั่วเมืองโอมาฮา กิจการนี้ถูกขายภายในปีเดียวกันให้กับทหารผ่านศึกคนหนึ่งในมูลค่า 1,200 ดอลลาร์
ความสนใจในด้านตลาดหุ้นของบัฟเฟตต์เริ่มตั้งแต่เด็กเช่นกันโดยได้ซื้อหุ้นครั้งแรกเมื่ออายุ 11 ปี ในสมัยมัธยมปลาย เขาลงทุนในธุรกิจของพ่อและเป็นเจ้าของฟาร์มขนาด 40 เอเคอร์ที่มีชาวนาเช่าอยู่
ในปี ค.ศ. 1947 เขาเข้าเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่โรงเรียนธุรกิจวอร์ตันแห่งมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย และได้ย้ายไปเรียนและจบการศึกษาที่มหาวิทยาลัยเนแบรสกา หลังจากนั้นได้ศึกษาต่อระดับปริญญาโทสาขาเศรษฐศาสตร์ที่ มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ในปีค.ศ. 1951 เป็นต้นมา
ปรัชญาการลงทุน
แก้เมื่อครั้งที่ยังศึกษาในระดับปริญญาโทสาขาเศรษฐศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบียอยู่นั้นวอร์เรน บัฟเฟต์ได้ศึกษาถึงปรัชญาการลงทุนจาก เบนจามิน เกรแฮม หลังจากนั้นก็นำปรัชญาการลงทุนจาก ฟิลิป ฟิชเชอร์ มาปรับประยุกต์เข้าด้วยกัน วอร์เรน บัฟเฟต์ ถือเป็นนักลงทุนที่เน้นคุณค่าของหุ้นที่มั่นคงในระยะยาวมากกว่าการเก็งกำไรในระยะสั้น
กองทุนดัชนีและการบริหารแบบแอคทีฟ
แก้บัฟเฟตต์สนับสนุนกองทุนดัชนีสำหรับผู้ที่ไม่สนใจบริหารเงินของตนเองหรือไม่มีเวลามากพอ บัฟเฟตต์กังขาว่าการบริหารแบบแอคทีฟจะสามารถเอาชนะตลาดได้ในระยะยาวและเขาได้แนะนำทั้งผู้ลงทุนรายย่อยและสถาบันให้ลงทุนในกองทุนดัชนีที่มีค่าธรรมเนียมต่ำและผูกโยงกับดัชนีที่กระจายความเสี่ยง บัฟเฟตต์เคยเขียนในจดหมายถึงผู้ถือหุ้นว่า "เมื่อเงินหลักล้านๆ ดอลลาร์ถูกบริหารโดยคนวอลล์สตรีทที่คิดค่าธรรมเนียมแพงๆ กำไรใหญ่ๆก็มักจะถูกเหล่าผู้จัดการเก็บเกี่ยว ไม่ใช่ลูกค้า" [7] ในปี ค.ศ. 2007 บัฟเฟตต์พนันกับผู้จัดการกองทุนหลายคนว่ากองทุนดัชนี S&P 500 ธรรมดาจะทำความสามารถได้ดีกว่า เฮดจ์ฟันด์ที่คิดค่าธรรมเนียมแพงมาก เวลาล่วงเลยมาถึงปี ค.ศ. 2017 กองทุนดัชนีสามารถที่จะเอาชนะทุกกองทุนเฮดจ์ฟันด์ที่พนันกับบัฟเฟตต์ [7]
มิตรสหาย
แก้- วอร์เรน บัฟเฟต์มีมิตรสหายเป็นมหาเศรษฐีชื่อ บิลล์ เกตส์ ซึ่งเคยชวนให้เขาร่วมลงทุนในบริษัทไมโครซอฟท์ แต่วอรร์เรนก็ขอปฏิเสธ เนื่องจากไม่มีความเข้าใจในระบบธุรกิจประเภทนี้ แต่ถึงกระนั้น เขาก็ยินดีที่จะบริจาคเงินจำนวนมหาศาลแก่มูลนิธิของบิลล์ เกตส์แทน
- ในบางโอกาสเขามักเล่นเกมไพ่บริดจ์กับบิลล์ เกตส์ผ่านทางระบบออนไลน์ (เพื่อลับสมองมากกว่าเพื่อการพนัน)
อ้างอิง
แก้- ↑ "How Does Warren Buffett Get Married? Frugally, It Turns Out". New York Times. 2006-09-01. สืบค้นเมื่อ 2008-05-20.
- ↑ "Warren E Buffett, CEO Compensation". Forbes.com. 2006-03-30. สืบค้นเมื่อ 2009-02-23.
- ↑ Forbes http://www.forbes.com/profile/warren-buffett/.
{{cite news}}
:|title=
ไม่มีหรือว่างเปล่า (help) - ↑ "The Greatest Investors: Warren Buffett". Investopedia.com. สืบค้นเมื่อ 2009-03-06.
- ↑ Markels, Alex (2007-07-29). "How to Make Money the Buffett Way". U.S. News & World Report.
- ↑ Sullivan, Aline (1997-12-20). "Buffett, the Sage of Omaha, Makes Value Strategy Seem Simple: Secrets of a High Plains Investor". International Herald Tribune. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-08-30. สืบค้นเมื่อ 2009-05-08.
- ↑ 7.0 7.1 "Warren Buffett, 'Oracle of Omaha', criticizes Wall Street and praises immigrants". Reuters via the Guardian. 25 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2017.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help)
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- กิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติ และ พรรณชญาน์ ชัยสิทธินันท์ (2558) ปรัชญาการลงทุนของ วอร์เรน บัฟเฟตต์ (หนังสือแปลและเรียบเรียง) The Warren Buffett Philosophy of Investment ผู้แต่ง Elena Chirkova สำนักพิมพ์ McGraw-Hill ISBN 9786163500779 (พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2558)
- Berkshire Hathaway official website
- Latest Holdings In Berkshire Hathaway Portfolio
- Latest Holdings In Berkshire Hathaway Portfolio เก็บถาวร 2012-10-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (with prices from Google Finance)
- Latest Holdings In Berkshire Hathaway Portfolio, Dynamic
- Warren Buffett news at The Guardian
- Warren E. Buffett news at The New York Times
- buffetwatch.com เก็บถาวร 2008-11-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน