ข้ามไปเนื้อหา

เซนต์เฮเลนา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เกาะเซนต์เฮเลนา)
เซนต์เฮเลนา

Saint Helena (อังกฤษ)
คำขวัญ"Loyal and Unshakeable"
ที่ตั้งของเซนต์เฮเลนา
เมืองหลวงเจมส์ทาวน์
15°56′S 05°43′W / 15.933°S 5.717°W / -15.933; -5.717
เมืองใหญ่สุดฮาล์ฟ ทรี ฮอลโลว
15°56′0″S 5°43′12″W / 15.93333°S 5.72000°W / -15.93333; -5.72000
ภาษาราชการภาษาอังกฤษ1
การปกครองอาณานิคมโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักร
สมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3
• ผู้ว่าการ
ฟิลิป รัชบรูก
สภานิติบัญญัติสภานิติบัญญัติ
อาณานิคมโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักร
• ตามกฎบัตร
พ.ศ. 2202
พื้นที่
• รวม
410 ตารางกิโลเมตร (160 ตารางไมล์) (88)
ประชากร
• ก.ค. 2548 ประมาณ
4,918 (N/A)
18 ต่อตารางกิโลเมตร (46.6 ต่อตารางไมล์) (N/A)
สกุลเงินปอนด์เซนต์เฮเลนา (SHP)
เขตเวลาUTC+0 (GMT)
ขับรถด้านซ้ายมือ
รหัสโทรศัพท์+290
โดเมนบนสุด.sh

เซนต์เฮเลนา เป็นเกาะภูเขาไฟและอยู่ในเครือจักรภพของสหราชอาณาจักร อยู่ทางตอนใต้ของมหาสมุทรแอตแลนติก เกาะใกล้เคียงก็อยู่ในเครือจักรภพเช่นกัน ทั้งเกาะแอสเซนซันและตริสตัน ดา กุนญา

เซนต์เฮเลนาเป็นที่รู้จักเมื่อครั้งที่จักรพรรดินโปเลียน โบนาปาร์ตแห่งฝรั่งเศส ถูกเนรเทศไปที่เกาะนี้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2358 จนสวรรคตเมื่อปี พ.ศ. 2364 สถานที่สำคัญคือ ลองวู้ด เฮาส์ (Longwood House) อันเป็นสถานที่ที่นโปเลียนพำนักระหว่างการเนรเทศอยู่ และแซน แวลลี (Sane Valley) ซึ่งที่ฝังพระศพ

เกาะนี้เคยเป็นของฝรั่งเศสจนกระทั่งกลายมาเป็นของอังกฤษเมื่อปี พ.ศ. 2401

เซนต์เฮเลนาเป็นสมาชิกของสมาคมการกีฬาหมู่เกาะนานาชาติ (International Island Games Associetion)

ประวัติ

[แก้]

เกาะเซนต์เฮเลนาถูกค้นพบเมื่อปี พ.ศ. 2045 โดยชาวโปรตุเกสโดยบังเอิญ และได้ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่เฮเลนาแห่งกรุงคอนสแตนติโนเปิล เกาะนี้รู้จักกันในนามเซนต์เฮเลนา เมื่อกองกำลังจากอังกฤษค้นพบเมื่อประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 17

การค้นพบและช่วงแรกหลังการค้นพบ

[แก้]

เกาะนี้ค้นพบเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2045 โดยราชนาวีชาวโปรตุเกส ชอง ดา โนวา โดยบังเอิญ ได้มีการบันทึกไว้ว่าบนเกาะนี้มีต้นไม้มากมายและมีน้ำใสสดชื่น พวกเขานำเข้าสัตว์ที่มีชีวิตอยู่ (ส่วนใหญ่เป็นแพะ) ไม้ผลและผัก เขาสร้างโบสถ์และที่อยู่อาศัย แต่ต้องกลับไปก่อนเพื่อนำวัตถุดิบต่างๆ มาพร้อมกับเรือลำหน้า พวกเขาจึงออกจากเกาะโดยปิดเรื่องนี้เป็นความลับ พวกเขาต้องการกลับมายังสถานที่นี้อีกครั้ง โดยเป็นที่รู้กันว่าจะมีผู้อาศัยถาวรกลุ่มแรกเป็นชาวโปรตุเกส

เฟอร์นานโด โลเปซ ผู้ว่าการเมืองกัว (Goa) ประเทศอินเดีย ชาวโปรตุเกส ถูกปล่อยเกาะที่เซนต์ เฮเลนา เมื่อคราวที่เขาพิการ และอาศัยอยู่ที่เกาะนี้ตั้งแต่ พ.ศ. 2056 โดยทางราชการได้สั่งไว้ให้กลับมาที่โปรตุเกสเมื่อถึงเวลาที่ต้องการ แต่เขาก็เสียชีวิตที่เกาะเซนต์เฮเลนาเมื่อปี พ.ศ. 2073 ก่อนที่ทางราชการจะมารับตัวเขากลับโปรตุเกส

เมื่อคราวที่ค้นพบเกาะแห่งนี้ เกาะเซนต์เฮเลนาก็ปกคลุมไปด้วยพันธุ์ไม้ที่ไม่พบที่ใดในโลก ซึ่งเป็นป่าในเขตร้อนมากมาย ตอนกลางของเกาะนั้นหนาแน่นไปด้วยป่าไม้เขตร้อน แต่ชายฝั่งของเกาะนั้นก็อุดมสมบูรณ์อยู่ทีเดียว แต่เขตที่ตั้งเมืองใหม่นั้นแตกต่างไปอย่างสิ้นเชิง ซึ่งเต็มไปด้วยหินโล้นๆ ในเขตพื้นที่ราบต่ำ แต่ตอนกลางของเกาะที่เป็นที่สูงนั้นกลับเต็มไปด้วยสีเขียวของป่าไม้

เขตการปกครอง

[แก้]
Orthographic projection above St Helena

มีการแบ่งเขตการปกครอง ดังนี้:

ชื่อเกาะ สถานะทางการปกครอง พื้นที่ (ตร.กม.) จำนวนประชากร เมืองหลวง
เซนต์เฮเลนา พื้นที่เขตการปกครอง 122 5,157 เจมส์ทาวน์
อัสเซนชัน เมืองขึ้น 88 1,122 จอร์จทาวน์
ตริสตัน ดา กุนญา เมืองขึ้น 200 284 เอดินเบิร์ก ออฟ เดอะ เซเว่น ซีส์
ทั้งหมด 410 6,563 เจมส์ทาวน์ (เซนต์เฮเลนา)เจมส์ทาวน์

นอกจากนี้ เซนต์เฮเลนายังมีเขตพื้นที่การปกครองภายในอีก ดังนี้:

ชื่อเมือง พื้นที่ (ตร.กม.) จำนวนประชากร
(พ.ศ. 2543)
อลาร์ม ฟอเรสต์ 5.9 279
บลู ฮิลล์ 36.5 175
ฮาล์ฟ ทรี ฮอลลาว 1.6 1,126
เจมส์ทาว์น 3.6 864
เลเวลวู้ด 14.0 373
ลองวู้ด 33.4 951
แซนดี้ เบย์ 15.3 254
เซนต์พอลส์ 11.4 893
ทั้งหมด 121.7 4,915